พิษร้าย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายสมองเด็ก วิจัยพบสารเคมี 2 พันชนิด

เปิดวิจัยหมอรามาฯ บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายต่อระบบสมองเด็ก-วัยรุ่น กลุ่มผู้เสพวัย 13-15 ปี เสี่ยง ความจำเสื่อม-โรคซึมเศร้า พบแต่งกลิ่น-รสชาติกว่า 2 หมื่นชนิด ล่อใจนักสูบหน้าใหม่ ชี้สะสมนิโคติระยะยาวส่งกระทบเซลล์ประสาท
องค์การอนามัยโลกระบุว่า เมื่อปี 2021 มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ารสชาติต่าง ๆ กว่า 16,000 ชนิด หลายชนิดมีการตบแต่งกลิ่นสีและรสชาติ เพื่อดึงดูดและหลอกล่อให้เยาวชนทดลองสูบ โดยใช้สีสัน ตัวการ์ตูน รสใหม่ชวนสูดดม หวังเพิ่มยอดจำหน่าย โดยไม่คำนึงว่าจะเกิดพิษสะสมและเป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
“น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าขณะนี้น่าจะอยู่ที่ 20,000 ชนิด ผู้ผลิตได้เปลี่ยนสี แต่งกลิ่นเพื่อให้เยาวชนหรือนักเสพหน้าใหม่รู้สึกว่า ไม่อันตราย เพราะการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีควัน แต่เขารู้ไม่ว่า ในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งเราไม่เคยรู้จักและไม่พบในบุหรี่มวนมาก่อน นอกจากนิโคติน ตะกั่ว สารก่อมะเร็ง และเป็นอันตรายต่อระบบสมอง” รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าว
ขณะที่ ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของคนไทยอายุ 15 ปี เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากจำนวน 49,180 คน หรือ 0.09 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2557 ขยับมาที่ 11,096 คน หรือ 0.02 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2560 และในปี 2564 ที่ผ่านมา ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 78,072 คนหรือ 0.14 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
 
 
 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
สำนักงานชั่วคราว ภาควิชากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.วังใหม่ อ.ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 089-185-2000

ฝ่ายประสานงาน

อ.กภ.ทัศวิญา พัดเกาะ
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

โทร. 064-746-7547
E-mail: tadsawiya@go.buu.ac.th

ผู้เยี่ยมชม

820076
Today
This Month
All days
118
21207
820076