ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “(ทิศทางโลก) สู่การขับเคลื่อนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย”

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “(ทิศทางโลก) สู่การขับเคลื่อนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย”วันจันทร์ที่ 29 สิงหาาคม พ.ศ. 2565 | นี้เป็นตัวอย่างของความร้ายกาจของบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งนี้ ผมได้รับมอบหมายให้พูดถึงการควบคุมยาสูบ ในภาพรวม เพราะฉะนั้นผมจะแตะประเด็นของบุหรี่ไฟฟ้าในตอนท้ายนิดเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันสถานการณ์เรื่องของบุหรี่ดีขึ้น โดยมีตัวช่วยในระดับโลกที่มีการตั้งเป้าหมายที่จะลดโรค เรื้อรัง (NCDs) โดยต้องลดยาสูบ ร้อยละ 30 ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า และมีตัวช่วยอีกตัวหนึ่งของสหประชาชาติ คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนจาก ข้อ 3. ที่ว่าต้องมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี และข้อนี้สำคัญเพราะถ้าข้อนี้ล้มเหลว ข้ออื่นก็ ล้มเหลวทั้งหมด การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นแรงช่วยเรา และหลายประเทศไปไกลแล้ว เขามีอัตราการสูบบุหรี่ ร้อยละ 5 สถานการณ์การสูบบุหรี่ของประเทศไทย ถ้าเราดูทั้งชายและหญิง ก็อาจจะพอไปได้คือ ร้อยละ 1.4 แต่ว่าเราได้ผู้หญิงไทยที่น่ารัก ที่ค่ายังต่ำมาก แต่ว่าผู้ชายเรายังมีค่าเฉลี่ยของโลก งานยังหนักอยู่ เพราะว่าเริ่ม เมื่อ ร้อยละ 60 กว่า เรามี 9-10 ล้านคน เสียชีวิต 70,000 คน ได้รับบุหรี่มือสอง 9,000 คน ป่วยอยู่ 1,400,000 คน
เป้าหมายเมื่อผ่านแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ไป ปี 2563-2564 เราไปไม่ ถึงเป้า ตามเป้าสัดส่วนประชากรที่สูบบุหรี่ต้องลงถึง ร้อยละ 16.7 แต่อยู่ที่ ร้อยละ 17.4 การพลาดเป้าไปท าให้มีคน สูบบุหรี่อีก 600,000 คน ที่เราควรจะต้องท าให้เขาไม่สูบ และในแผนฉบับที่ 3 ตั้งเป้าหมายว่าต้องลงถึง ร้อยละ 14 เมื่อ ปี 2570 ซึ่งเพิ่งจะไปเท่ากับหลายประเทศอย่างนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นเราล้าหลัง เขาไม่ต่ำกว่า 7-8 ปี และ ผศ. ดร. ศรัณญา เบญจกุล คำนวณออกมาให้ดูว่าถ้าเราจะไปถึง ร้อยละ 14 เราต้องพยายาม ลดจำนวนคนสูบที่ลดมาปีละ 160,000 คนต่อปี นั่นคือให้ได้ถึง 330,000 คน เราก็ต้องถามตัวเองว่าแล้วเราท าได้ไหม
เรื่องการควบคุมการสูบบุหรี่ไม่ใช่ความลับ หรือเป็นศาสตร์ที่ลี้ลับ หากท าตามอนุสัญญาควบคุม ยาสูบขององค์การอนามัยโลก (FCTC) ก็จะลดลง ประเทศไหนท าตามได้มากเท่าไรการสูบบุหรี่ก็ยิ่งลดเร็วขึ้นเท่านั้น
 
Credit : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
 
อ่านเพิ่มเติม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “(ทิศทางโลก) สู่การขับเคลื่อนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย”
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
สำนักงานชั่วคราว ภาควิชากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.วังใหม่ อ.ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 089-185-2000

ฝ่ายประสานงาน

อ.กภ.ทัศวิญา พัดเกาะ
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

โทร. 064-746-7547
E-mail: tadsawiya@go.buu.ac.th

ผู้เยี่ยมชม

824342
Today
This Month
All days
1267
25473
824342