หนึ่งทศวรรษ กฎหมายบุหรี่โลกไม่สุดโต่ง

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ เป็นวันครบรอบ 1 ทศวรรษ : การบังคับใช้กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) ซึ่งกรอบอนุสัญญาฯ เริ่มมีผลบังคับใช้ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548

ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันเป็นประเทศลาดับที่ 36 ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2547 ปัจจุบันนี้ มี 180 ประเทศเป็นรัฐภาคี ครอบคลุมประชากรเกือบ 90% ทั่วโลก โดยในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเพียงประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่ยังไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคี เนื่องจากการขัดขวางของบริษัทยาสูบ

วัตถุประสงค์ของกรอบอนุสัญญาฯ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน และชนรุ่นหลังจากพิษภัยร้ายแรงของการใช้ยาสูบ และการได้รับควันยาสูบ

ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐภาคีตามกรอบอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550
มาตรการการควบคุมยาสูบของประเทศไทย ที่ได้อนุวัติตามข้อกาหนดของ FCTC แล้ว อาทิ การจัดพิมพ์คาเตือนพิษภัยเป็นรูปภาพบนซองผลิตภัณฑ์ยาสูบ การห้ามโฆษณา CSR ในสื่อวิทยุและโทรทัศน์ การห้ามแสดงซองบุหรี่ ณ จุดขาย การกาหนดแนวทางการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการยาสูบกับเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมโรค การจัดสรรงบประมาณจากภาษียาสูบ เพื่อสนับสนุนการควบคุมยาสูบ และการกาหนดสถานที่สาธารณะและที่ทางานเป็นเขตปลอดบุหรี่ 100% เป็นต้น

กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ ทาให้ประเทศต่าง ๆ สามารถกาหนดมาตรการการควบคุมยาสูบ ตามข้อกาหนดในมาตราต่าง ๆ ของกรอบอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นข้อกาหนดเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ ข้อกาหนดต่าง ๆ ภายใต้กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก เป็นข้อกาหนดขั้นต่า ที่รัฐภาคีสามารถที่จะกาหนดมาตรการหรือกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดกว่าได้ ซึ่งการที่ประเทศไทยยกร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่นี้ ก็ได้นาข้อกาหนดที่เกี่ยวกับการโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการลดการเข้าถึงยาสูบของเด็กและเยาวชน มาบัญญัติไว้ โดยไม่มีบทบัญญัติใด ที่เข้มงวดไปกว่าที่กาหนดไว้ในกรอบอนุสัญญาฯ จึงไม่ใช่ร่างกฎหมายที่สุดโต่ง ตามที่ธุรกิจยาสูบกล่าวอ้าง หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงแก่สาธารณะในช่วงที่ผ่านมา

กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ เป็นกรอบอนุสัญญาที่มีพันธะผูกพัน (Binding) ต่อรัฐภาคี แต่ไม่มีบทลงโทษ เพียงแต่ประเทศที่ไม่สามารถดาเนินการตามข้อกาหนดของกรอบอนุสัญญาฯ จะถูกประชาคมโลกมองว่ารัฐบาลไม่ให้ความสาคัญกับการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน จากการเสพติด และพิษภัยยาสูบ ในขณะที่ประเทศที่สามารถดาเนินการตามข้อกาหนดของกรอบอนุสัญญาฯ ได้ ยิ่งมากเท่าใด ประเทศนั้นก็จะได้รับประโยชน์จากการที่สุขภาพของประชากรดีขึ้น จากการบริโภคยาสูบที่ลดลง

จากรายงานของ 126 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2554 อุปสรรคที่สาคัญที่สุด 4 ประการแรก ในการที่รัฐภาคีจะดาเนินการตามข้อกาหนดของ FCTC คือ

  1. การแทรกแซง และขัดขวางนโยบายควบคุมยาสูบ โดยธุรกิจยาสูบ
  2. ขาดความมุ่งมั่นทางการเมือง (Political will)
  3. การได้รับงบประมาณในการควบคุมยาสูบ ที่ไม่เพียงพอ
  4. การขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โทร. 0-2278-1828 / 08-1822-9799

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

เครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
สำนักงานชั่วคราว ภาควิชากายภาพบำบัด
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.วังใหม่ อ.ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 089-185-2000

ฝ่ายประสานงาน

อ.กภ.ทัศวิญา พัดเกาะ
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข
อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

โทร. 064-746-7547
E-mail: tadsawiya@go.buu.ac.th

ผู้เยี่ยมชม

1099245
Today
This Month
All days
520
21724
1099245